Custom Search

บทความที่ได้รับความนิยม

Translate

ดูแลเครื่องทำน้ำอุ่นอย่างถูกวิธี

เคล็ดลับการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า และการประหยัดพลังงาน
1. ไม่ควรเปิดเครื่องตลอดเวลาขณะอาบน้ำ หรือสระผม สิ้นเปลืองทั้งน้ำและไฟฟ้า
2. เมื่อใช้แล้วควรปิดเครื่อง อย่าเปิดสวิตช์ทิ้งไว้จะสิ้นเปลืองไฟฟ้า
3. ควรตั้งระดับความแรงของน้ำไว้ที่ระดับปานกลาง
4. ดูแลรักษาและใช้อย่างถูกวิธี อย่าให้น้ำรั่วจากฝักบัว จะเปลืองน้ำ และเครื่องจะทำงานมากกว่าปกติ สิ้นเปลืองไฟ
5. ตรวจดูระบบท่อน้ำ และรอยต่อให้มีสภาพดีอยู่เสมอ อย่าให้มีการรั่วซึม
6. เลือกซื้อเครื่องทำน้ำอุ่นให้เหมาะสมกับขนาดของครอบครัว และความจำเป็นในการใช้
7. ติดตั้งเครื่องทำน้ำอุ่นชนิดป้อนน้ำร้อน 1 เครื่องต่อ 1 ห้องน้ำ ประหยัดไฟกว่าชนิดเครื่องเดียวที่ป้อนน้ำอุ่นได้ครั้งละหลยๆ ห้อง
8. เลือกใช้เครื่องทำน้ำอุ่นที่มีถังเก็บน้ำภายในตัวเครื่อง และมีฉนวนหุ้มจะประหยัดการใช้ไฟฟ้าได้ร้อยละ 10-20

ประโยชน์ของเครื่องทำน้ำอุ่น
1. กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต การอาบน้ำอุ่นเป็นผลดีต่อสุขภาพของผู้อาบ สายน้ำอุ่น ณ อุณหภูมิที่เหมาะสมจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตให้สูบฉีดไปทั่วร่างกาย
2. ผ่อนคลายคลายความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ การอาบน้ำอุ่นช่วยทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย และเกิดการตื่นตัว ช่วยรักษาบรรเทาความปวดเมื่อย และความตึงเครียดของกล้ามเนื้อตามร่างกาย
3. ปราศจากสิ่งสกปรกอุดตันรูขุมขน การอาบน้ำในอุณหภูมิที่พอเหมาะ จะช่วยรักษาผิวพรรณ ชะล้างไขมันบนผิวหนัง และทำความสะอาดลึกถึงรูขุมขนได้ดีกว่า
4. เพิ่มความสดชื่น คืนความกระปรี้กระเป่า เพราะสายน้ำอุ่นจะลดประจุบวก และเพิ่มประจุลบรอบข้างในอากาศขณะอาบน้ำช่วยทำให้คุณหายใจได้คล่องขึ้น รู้สึกสดชื่นภายหลังจากอาบน้ำ

การดูแลรักษาเครื่องทำน้ำอุ่น
1. อย่างอ หรือพับสายฝักบัว เพราะจะทำให้สายฝักบัวชำรุดได้
2. หมั่นเช็ดทำความสะอาดฝักบัว เพราะอาจมีตะกอนไปอุดตันทางออกของน้ำ
3. หมั่นตรวจเช็คสวิตช์ป้องกันกันไฟรั่วไฟดูด ELCB อย่างน้อยเดือนละครั้ง
4. ก่อนทำความสะอาดเครื่อง ต้องปิดเบรกเกอร์ควบคุมไฟฟ้าทุกครั้ง เพื่อความปลอดภัย
5. การทำความสะอาดภายนอกตัวอาดเครื่องควรใช้ผ้านุ่มชุบน้ำบิดให้แห้ง แล้วเช็ดทำความสะอาด
6. อย่านำผ้าเปียกชุ่มน้ำไปเช็ดทำความสะอาด หรือฉีดพ่นน้ำที่ตัวเครื่อง เพราะอาจทำให้เกิดไฟช็อตได้

และอาจจะเสียชีวิตได้

การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์

เพิ่มคำอธิบายภาพ
คอมพิวเตอร์เมื่อใช้ไประยะหนึ่งจะมีการเสื่อมชำรุดไปตามสภาพระยะเวลาที่ใช้งาน ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรเอาใจใส่ ดูแลและบำรุงรักษา อย่างเหมาะสมสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มอายุ การใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะช่วยให้สามารถ ประหยัดงบประมาณในการซ่อมบำรุงหรือการเปลี่ยนอุปกรณ์ 
สิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมที่คอมพิวเตอร์ของคุณจะทำงานได้ดีนั้นคืออย่างไร เช่น ในห้องคอมพิวเตอร์ของคุณควรจะมีอุณหภูมิสูงเท่าไร มีความชื้นไม่เกินเท่าไร ขีดจำกัดของการทำงานเป็นอย่างไร ระยะเวลาในการทำงานของเครื่องเป็นอย่างไร ดังนั้น ห้องทำงานด้านคอมพิวเตอร์จึงควรเป็นห้องปรับอากาศที่ปราศจากฝุ่นและ ความชื้น ซอฟแวร์ แผ่นดิสก์ที่เก็บซอฟแวร์ และไฟล์ข้อมูล หรือสารสนเทศนั้น อาจเสียหายได้ ถ้าหากว่า แผ่นดิสต์ได้รับการขีดข่วน ได้รับความร้อนสูง หรือตกกระทบกระแทกแรง ๆ สิ่งที่ทำ ลายซอฟแวร์ได้แก่ ความร้อน ความชื้น ฝุ่น ควัน และการฉีดสเปรย์พวกน้ำยาหรือน้ำหอม ต่าง ๆ เป็นต้น การทำความสะอาดระบบคอมพิวเตอร์
1. ไม่ควรทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะที่เครื่องยังเปิดอยู่ ถ้าคุณจะทำความ สะอาดเครื่อง ควรปิดเครื่องทิ้งไว้ 5 นาที ก่อนลงมือทำความสะอาด
2. อย่าใช้ผ้าเปียก ผ้าชุ่มน้ำ เช็ดคอมพิวเตอร์อย่างเด็ดขาด ใช้ผ้าแห้งดีกว่า
3. อย่าใช้สบู่ น้ำยาทำความสะอาดใด ๆ กับคอมพิวเตอร์ เพราะจะทำให้ระบบของเครื่อง เกิดความเสียหาย
4. ไม่ควรฉีดสเปรย์ใด ๆ ไปที่คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ
5. ไม่ควรใช้เครื่องดูดฝุ่นกับคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ประกอบอื่น ๆ
6. ถ้าคุณจำเป็นต้องทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ โปรดใช้อุปกรณ์ทำความสะอาด ที่คู่มือแนะนำไว้เท่านั้น
7. ไม่ควรดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ ในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์
8. ไม่ควรกินของคบเคี้ยวหรืออาหารใด ๆ ขณะทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
สาเหตุที่ทำให้เครื่องพีซีเกิดความเสียหาย
ความร้อน
ความร้อนที่เป็นสาเหตุทำให้คอมพิวเตอร์มีปัญหา ส่วนใหญ่เกิดจากความร้อนของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์เองวิธีแก้ปัญหา คือ จะต้องรีบระบายความร้อนที่เกิดจากอุปกรณืต่างๆ ออกไปให้เร็วที่สุด
วิธีแก้ปัญหา
  พัดลมระบายความร้อนทุกตัวในระบบ ต้องอยู่ในสภาพดี 100 เปอร์เซนต์ อุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดควรจะอยู่ระหว่าง 60-70 องศาฟาเรนไฮต์
  ใช้เพาเวอร์ซัพพลาย ในขนาดที่ถูกต้อง
  ใช้งานเครื่องในย่านอุณหภูมิที่ปลอดภัย อย่าตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแสงแดดส่องถึงเป็นเวลานานๆ
ฝุ่นผง
เป็นที่ทราบกันดีว่าในอากาศมีฝุ่นผงกระจัดกระจายอยู่ในทุกๆ ที่ ฝุ่นผงที่เกาะติดอยู่บนแผงวงจรของคอมพิวเตอร์ ทำหน้าที่เสมือนฉนวนป้องกันความร้อน ทำให้ความร้อนที่เกิดขึ้นในระบบ ไม่สามารถระบายออกสู่สภาพแวดล้อมภายนอก นอกจากนี้อาจไปอุดตันช่องระบายอากาศของเพาเวอร์ซัพพลายหรือฮาร์ดดิสค์ หรืออาจเข้าไปอยู่ระหว่างแผ่นดิสค์กับหัวอ่าน ทำให้แผ่นดิสค์หรือหัวอ่านเกิดความเสียหายได้
วิธีแก้ไข
  ควรทำความสะอาดภายในเครื่องทุก 6 เดือน หรือทุกครั้งที่ถอดฝาครอบ
  ตัวถัง หรือ ชิ้นส่วนภายนอกอาจใช้สเปรย์ทำความสะอาด
  วงจรภายในให้ใช้ลมเป่าและใช้แปรงขนอ่อนๆ ปัดฝุ่นออก
  อย่าสูบบุหรี่ใกล้เครื่องคอมพิวเตอร์
สนามแม่เหล็ก
แม่เหล็กสามารถทำให้ข้อมูลในแผ่นดิสก์หรือฮาร์ดดิสก็สูญหายได้อย่างถาวร แหล่งที่ให้กำเนิดสนามแม่เหล็กในสำนักงานมีอยู่มากมาหลายประเภท อาทิเช่น
  แม่เหล็กติดกระดาาบันทึกบนตู้เก็บแฟ้ม
  คลิปแขวนกระดาษแบบแม่เหล็ก
  ไขควงหัวแม่เหล็ก
  ลำโพง
  มอเตอร์ในพรินเตอร์
  UPS
วิธีแก้ไข
  ควรโยกย้ายอุปกรณ์ที่มีกำลังแม่เหล็กมากๆ ให้ห่างจากระบบคอมพิวเตอร์
สัญญาณรบกวนในสายไฟฟ้า
สัญญาณรบกวนในสายไฟฟ้ามีหลายลักษณะ อาทิเช่น
  แรงดันเกิน
  แรงดันตก
  ทรานเชียนต์
  ไฟกระเพื่อม
แรงดันเกิน
ในกรณีที่เครื่องของท่านได้รับแรงดันไฟฟ้าเกินจากปกติ เป็นเวลานานกว่า วินาที จะมีผลทำให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ภายในเครื่องเกิดความเสียหายได้
แรงดันตก
ในกรณีที่มีการใช้ไฟฟ้ากันมากเกินความสามารถในการจ่ายพลังงานไฟฟ้า จะมีผลทำให้เกิดเหตุการณืไฟตกได้ ไฟตกอาจทำให้การทำงานของเพาเวอร์ซัพพลายผิดพลาดได้ เนื่องจากเพาเวอร์ซัพพลายพยายามจ่ายพลังงานให้กับวงจรอย่างสม่ำเสมอ โดยไปเพิ่มกระแส แต่การเพิ่มกระแสทำให้ตัวนำ เพาเวอร์ซัพพลายและอุปกรณ์ต่างๆ ร้อนขึ้น ซึ่งมีผลทำให้อุปกรณ์ต่างๆ เกิดความเสียหายได้
ทรานเชียนต์
ทรานเชียนต์ หมายถึง การที่ไฟฟ้ามีแรงดันสุง (sags) หรือต่ำกว่าปกติ (surge) ในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ทรานเชียนต์ที่เกิดในบางครั้งจะมีความถี่สูงมาก จนกระทั่งสามารถเคลื่อนที่ผ่านตัวเก็บประจุไฟฟ้าในเพาเวอร์ซัพพลาย เข้าไปทำความเสียหายให้แก่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ได้
ไฟกระเพื่อม
ทุกครั้งที่ท่านเปิดเครื่องใช้ไฟฟ้า จะทำให้กำลังไฟเกิดการกระเพื่อม เครื่องใช้ไฟฟ้ที่ต้องการกระแสไฟฟ้ามากๆ ก็จะทำให้ความแรงของการกระเพื่อมมีค่ามากตามไปด้วย จากการศึกษาพบว่า การเปิดใช้งานเครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละครั้งจะทำให้เกิดการกระเพื่อม- ครั้ง ภายในเสี้ยววินาที การกระเพื่อมจะมีผลต่อทุกๆ ส่วนภายในตัวเครื่อง รวมทั้งหัวอ่านข้อมูลของฮาร์ดดิสค์ด้วย
วิธีแก้ไข
  ในกรณีไฟเกิน ไฟตก และทรานเชียนต์ แก้ไขได้โดยการใช้เครื่องควบคุมกระแสไฟฟ้า หรือ ที่เรียกว่า Stabilizer
  ส่วนไปกระเพื่อม แก้ได้โดยการลดจำนวนครั้งในการปิดเปิดเครื่อง
ไฟฟ้าสถิตย์
ไฟฟ้าสถิตย์สามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล แต่ในสภาวะที่อากาศแห้ง จะส่งผลให้ความเป็นฉนวนไฟฟ้าสูง ประจุของไฟฟ้าสถิตย์จะสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก และหาทางวิ่งผ่านตัวนำไปยังบริเวณที่มีศักย์ไฟฟ้าต่ำกว่า ดังนั้นเมื่อท่านไปจับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ประจุของไฟฟ้าสถิตย์จากตัวท่านจะวิ่งไปยังอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านั้น ทำให้อุปกรณ์เกิดความเสียหายได้ แต่ในสภาวะที่มีความชื้นสูง ไฟฟ้าสถิตย์ที่เกิดขึ้นจะรั่วไหลหายไปในระยะเวลาอันสั้น
วิธีแก้ไข
  ควรทำการคายประจุไฟฟ้าสถิตย์ ด้วยการจับต้องโลหะอื่นที่ไม่ใช้ตัวถังเครื่องคอมพิวเตอร์ ก่อนจะสัมผัสอุปกรณ์ต่างๆ ในระบบคอมพิวเตอร์
น้ำและสนิม
น้ำและสนิมเป็นศัตรูตัวร้ายของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิด สนิมที่พบในเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์ มักจะเกิดจากการรั่วซึมของแบตเตอรี่บนเมนบอร์ด ซึ่งถ้าเกิดปัญหานี้ขึ้น นั่นหมายความว่าท่านจะต้องควักกระเป๋าซื้อเมนบอร์ดตัวใหม่มาทดแทนตัวเก่าที่ต้องทิ้งลงถังขยะสถานเดียว
วิธีแก้ไข
  หลีกเลี่ยงการนำของเหลวทุกชนิดมาวางบนโต๊ะคอมพิวเตอร์ของท่าน
  กรณีการรั่วซึมของแบตเตอรี่ แก้ไขได้โดยการเปลี่ยนแบตเตอรี่ใหม่ เมื่อเครื่องของท่านมีอายุการใช้งานได้ประมาณ 1-2 ปี เป็นต้นไป
การบำรุงรักษาตัวเครื่องทั่วๆไป
  เครื่องจ่ายไฟสำรอง (UPS) ถ้ามีงบประมาณเพียงพอควรติดตั้งร่วมกับตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ด้วยเพราะ UPS จะช่วยป้องกันและแก้ปัญหาทางไฟฟ้าไม่ว่าจะเป็นไฟตก ไฟเกิน หรือไฟกระชาก อันเป็นสาเหตุที่จะทำให้เกิดความเสียหายของข้อมูลและชิ้นส่วนอื่นๆ
  การติดตั้งตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ ควรติดตั้งในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ หรือถ้ามีไม่มีเครืองปรับอากาศควรเลือกห้องที่ปลอดฝุ่นมากที่สุด และการติดตั้งตัวเครื่องควรจากผนังพอสมควรเพื่อการระบายความร้อนที่ดี
  การต่อสาย Cable ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์กับอุปกรณ์ต่างๆเช่น Printer Modem Fax หรือส่วนอื่นๆจะต้องกระทำเมื่อ power off เท่านั้น
  อย่าปิด - เปิดเครื่องบ่อยๆ เกินความจำเป็น เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายแก่โปรแกรมที่กำลังทำงานอยู่
  ไม่เคลื่อนย้ายเครื่องคอมพิวเตอร์ขณะที่เครื่องทำงานอยู่ เพราะจะทำให้อุปกรณ์บางตัวเกิดความเสียหายได้
  อย่าเปิดฝาเครื่องขณะใช้งานอยู่ ถ้าต้องการเปิดต้อง power off และถอดปลั๊กไฟก่อน
  ควรศึกษาจากคู่มือก่อนหรือการอบรมการใช้งาน Software ก่อนการใช้งาน
  ตัวถังภายนอกของเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่เป็นส่วนประกอบของเหล็กกับพลาสติกเมื่อใช้นานๆ จะมีฝุ่นและคราบรอยนิ้วมือมาติดทำให้ดูไม่สวยงามและถ้าปล่อยไว้นานๆ จะทำความสะอาดยาก จึงควรทำความสะอาดบ่อยๆอย่างน้อย 1-2 เดือนต่อครั้ง โดยใช้ผ้าชุบน้ำหมาดๆ เช็ดที่ตัวเครื่อง หรือใช้น้ำยาทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะ และที่สำคัญคือ ควรใช้ผ้าคลุมเครื่องให้เรียบร้อยหลังเลิกใช้งานทุกครั้งเพื่อป้องกันฝุ่นผงต่างๆ
การบำรุงรักษา Hard Disk
ฮาร์ดดิสก์เป็นอุปกรณ์ที่มีอายุยืนมากยากจะบำรุงรักษาด้วยตัวเอง ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรระมัดระวังไม่ให้เกิดความเสียหายซึ่งควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
  การติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ควรติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์โดยให้ด้านหลังของตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ห่างจากฝาผนังไม่น้อยกว่า 3 นิ้ว เพื่อการระบายความร้อน 0 เป็นอย่างปกติไม่ทำให้เครื่องร้อนได้
  ควรเลือกใช้โตีะทำงานที่แข็งแรงป้องกันการโยกไปมาเพราะทำให้หัวอ่านของฮาร์ดดิสก์ถูกกระทบกระเทือนได้
  ควรมีการตรวจสอบสถานภาพของ Hard Disk ด้วยโปรแกรม Utility ต่างๆว่ายังสามารถใช้งานได้ครบ 100 % หรือมีส่วนใดของ Hard Disk ที่ใช้งานไม่ได้
การบำรุงรักษา Disk Drive
ช่องอ่านดิสก์เมื่อทำงานไปนานๆหัวอ่านแผ่นดิสก์อาจจะเสื่อมสภาพไปได้ หัวอ่านดิสก์เกิดความสกปรกเน่องจากมีฝุ่นละอองเข้าไปเกาะที่หัวอ่าน หรือเกิดจากความสกปรกของ แผ่นดิสก์ที่มีฝุ่น หรือคราบไขมันจากมือ ผลที่เกิดขึ้นทำให้การบันทึก หรืออ่านข้อมูลจากแผ่นดิสก์ไม่สามารถดำเนินการได้
การดูแลรักษา Disk Drive ควรปฏิบัติดังนี้
  เลือกใช้แผ่นดิสก์ที่สะอาดคือไม่มีคราบฝุ่น ไขมัน หรือรอยขูดขีดใดๆ
  ใช้น้ำยาล้างหัวอ่านดิสก์ทุกๆเดือน
  หลีกเลี่ยงการใช้แผ่นดิสก์เก่าที่เก็บไว้นานๆ เพราะจะทำให้หัวอ่าน Disk Drive สกปรกได้ง่าย
ก่อนนำแผ่นดิสก์ออกจากช่องอ่าน Disk Dirve ควรจะให้ไฟสัญญาณที่ Disk Drive ดับก่อน เพื่อป้องกันหัวอ่านชำรุด
การบำรุงรักษา Floppy Disk
แผ่นดิสก์มีความละเอียดมาก จึงควรมีการดูแลรักษาอยู่เสมอ เพราะ ถ้าแผ่นดิสก์ชำรุด หรือมีความสกปรก จะส่งผลกระทบต่อข้อมูล ที่บันทึกไว้หรือกำลังจะบันทึกใหม และที่สำคัญคือ จะสร้างความเสียหายให้แก่หัวอ่านดิสก์ด้วยผู้ใช้คอมพิวเตอร์ จึงควรระมัดระวังดูแลเอาใจใส่ โดยควรปฏิบัติดังต่อไปนี้
  ระมัดระวังอย่าให้มือไปถูกบริเวณที่เป็นแม่เหล็กของแผ่นดิสก์ เพราะไขมันบริเวณผิวหนังของเรา จะทำให้เกิดความสกปรกต่อบริเวณที่บันทึกข้อมูล
  อย่าใช้แรงกดปากกาเกินไป ขณะเขียนที่แผ่นป้ายชื่อของแผ่นดิสก์
  อย่าให้แผ่นดิสก์อยู่ใกล้ บริเวณที่มีคลื่นแม่เหล็กมากๆ เช่นเครื่องอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิดไม่ว่าจะเป็นบน MONITO หรือเครื่องโทรศัพท์แบบหมุน
  อย่าบิดหรืองอแผ่นดิสก์เล่นเป็นอันขาด
  อย่าให้แผ่นดิสก์มีรอยขูดขีด หรือถูกของเหลวเช่นน้ำ ดังนั้นเมื่อใช้แผ่นดิสก์เสร็จแล้วพยายาม เก็บไว้ในซองบรรจุให้เรียบร้อย
  ควรเก็บแผ่นดิสก์ไว้ในอุณหภูมิที่เหมาะสม อย่าทิ้งไว้หน้ารถให้ตากแดดนานๆ
การบำรุงรักษา Monitor
ในส่วนของจอภาพนั้นอาจเสียหายได้เช่น ภาพอาการเลื่อนไหลภาพล้ม ภาพเต้นหรือไม่มีภาพเลย ซึ่งความเสียหายดังกล่าวจะต้องให้ช่างเท่านั้นเป็นผู้แก้ไข ผู้ใช้คอมพิวเคอร์ควรระมัดระวัง โดยปฏิบัติดังนี้
  อย่าให้วัตถุหรือน้ำไปกระทบหน้าจอคอมพิวเตอร์
  ควรเปิดไฟที่จอก่อนที่สวิซไฟที่ CPU เพื่อ boot เครื่อง
  ไม่ควรปิดๆ เปิดๆ เครื่องติดๆกัน เมื่อปิดเครื่องแล้วทิ้งระยะไว้เล็กน้อยก่อนเปิดใหม่
  ควรปรับความสว่างของจอภาพให้เหมาะสมกับสภาพของห้องทำงาน เพราะถ้าสว่างมากเกินไปย่อมทำให้จอภาพอายุสั้นลง
  อย่าเปิดฝาหลัง Monitor ซ่อมเอง เพราะจะเป็นอันตรายจากกระแสไฟฟ้าแรงสูง
  เมื่อมีการเปิดจอภาพทิ้งไว้นานๆ ควรจะมีการเรียกโปรแกมถนอมจอภาพ (Screen Sever) ขึ้นมาทำงานเพื่อยืดอายุการใช้งานของจอภาพ
การบำรุงรักษา Inkjet & Dotmatrix Printer
เครื่องพิมพ์เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับแสดงผล รายงาน ของข้อมูลต่างๆทางกระดาษ การที่จะใช้เครื่องพิมพ์ทำงานได้เป็นปกติผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรหมั่นดูแลรักษาดังนี้
  รักษาความสะอาด โดยดูดฝุ่น เศษกระดาษที่ติดอยู่ในเครื่องพิมพ์ทุกเดือนหรือใช้แปรงขนนุ่มปัดฝุ่นเศษ กระดาษออกจากเครื่องพิมพ์อย่าใช้แปรงชนิดแข็งเพราะอาจทำให้เครื่องเป็นรอย ได้
  ถ้าตัวเครื่องพิมพ์มีความสกปรกอาจ ใช้ผ้านุ่มหรือฟองน้ำชุบน้ำยาทำความสะอาดเครื่องใช้สำนักงานเช็ดถูส่วนที่ เปนพลาสติกแต่ต้องระมัดระวังอย่าใช้น้ำเข้าตัวเครื่องพิมพ์ได้ และควร หลีกเลี่ยงการใช้น้ำมันหล่อลื่นทุกชนิด ในตัวเครื่องเพราะอาจทำให้ระบบกลไกเสียหายได้
  ก่อนพิมพ์ทุกครั้งควรปรับความแรง ของหัวเข็มให้พอเหมาะกับความหนาของกระดาษ
  ระหว่างพิมพ์ควรระวังหัวพิมพ์จะติดกระดาษ เช่น การพิมพ์ซองจดหมาย หรือกระดาษที่มีความหนาหรือบางเกินไป
  อย่าถอดหรือเสียบสาย Cable ในขณะที่เครื่องพิมพ์ หรือเครื่องคอมพิวเตอร์กำลังทำงานอยู่
  ไม่ควรพิมพ์กระดาษติดต่อกันนานเกินไปเพราะอาจทำให้หัวอ่านร้อนมากทำให้เครื่องชะงักหยุดพิมพ์กระดาษ
  เมื่อเลิกพิมพ์งานควรนำกระดาษออกจากถาดกระดาษ และช่องนำกระดาษ
  ไม่ควรใช้กระดาษไข (Stencil Paper) แบบธรรมดากับเครื่องพิมพ์ประเภทแบบกระแทก (Dotmatrix Printer) เนื่องจากเศษของกระดาษไขอาจจะไปอุดตันเข็มพิมพ์ อาจทำให้เข็มพิมพ์อาจหักได้ควรใช้กระดาษไขสำหรับเครื่องพิมพ์แทน เพื่อป้องกันการชำรุดของเฟืองที่ใช้หมุนกระดาษ
การบำรุงรักษา Laser Printer
Laser Printer เป็นเครื่องพิมพ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสามารถพิมพ์ภาพได้อย่างคมชัดมากมีความละเอียดสวยงาม แต่ราคาค่อนข้างสูงผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรระมัดระวังในการใช้งานแม้ว่าโอกาสจะเสียหายมีน้อยก็ตาม ข้อควรปฏิบัติดังนี้
  การเลือกใช้กระดาษไม่ควรใช้กระดาษ ที่หนาเกินไปจะทำให้กระดาษติดเครื่องพิมพ์ได้
  ควรกรีดกระดาษให้ด ี อย่าให้กระดาษติดกัน เพราะอาจจะเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กระดาษติดในตัวเครื่องพิมพ์ได้
  การใช้พิมพ์ Laser Printer พิมพ์ลงในแผ่นใส ก็ต้องเลือกใช้แผ่นใสที่ใช้ถ่ายเอกสารได้เท่านั้น หากใช่แผ่นใสแบบธรรดาซึ่งไม่สามารถทนความร้อนได้อาจจะหลอมละลายติดเครื่องพิมพ์ทำให้เกิดความเสียหาย

หลักเกณท์ในการเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้า



การประหยัดไฟฟ้า ต้องเริ่มจากการพิจารณาเลือกซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าอย่างมีหลักเกณฑ์ ซึ่งข้อแนะนำต่อไปนี้จะเป็นเครื่องช่วยประเมินคุณค่าของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่จะซื้อ ก่อนตัดสินใจควรพิจารณาดังนี้
1. ควรทราบว่าเครื่องใช้ไฟฟ้าที่พบเห็นนั้น กินไฟมากน้อยเพียงไร
2. มีความเหมาะสมในการใช้งานหรือไม่
3. สะดวกในการใช้สอย คงทน ปลอดภัยหรือไม่
4. ภาระการติดตั้ง และค่าบำรุงรักษา
5. พิจารณาคุณภาพ ค่าใช้จ่าย อายุใช้งาน มาประเมินออกมาเป็นตัวเงินด้วย
ปริมาณการกินไฟ (กำลังไฟฟ้า) ของเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทต่าง ๆ

เครื่องใช้ไฟฟ้า กำลังไฟฟ้า (วัตต์)
พัดลมตั้งพื้น 20 - 75
พัดลมเพดาน 70 - 100
โทรทัศน์ขาว-ดำ 28 - 150
โทรทัศน์สี 80 - 180
เครื่องเล่นวิดีโอ 25 - 50
ตู้เย็น 7-10 คิว 70 - 145
หม้อหุงข้าว 450 - 1,500
เตาหุงต้มไฟฟ้า 200 - 1,500
หม้อชงกาแฟ 200 -600
เตาไมโครเวฟ 100 - 1,000
เครื่องปิ้งขนมปัง 800 - 1,000
เครื่องทำน้ำอุ่น/ร้อน 2,500 - 12,000
เครื่องเป่าผม 400 - 1,000
เตารีดไฟฟ้า 750 - 2,000
เครื่องซักผ้าแบบมีเครื่องอบผ้า 3,000
เครื่องปรับอากาศ 1,200 - 3,300
เครื่องดูดฝุ่น 750 - 1,200
มอเตอร์จักรเย็บผ้า 40 - 90
การคิดค่ากระแสไฟฟ้า
ตัวอย่าง การคิดค่าไฟฟ้าประเภทบ้านอยู่อาศัยประเภท 1.2 สมมุติในเดือนมกราคม 2546 ผู้ใช้ไฟฟ้าใช้ไฟฟ้า 500 หน่วย
1. ค่าไฟฟ้าฐาน
1.1 ค่าพลังงานไฟฟ้า


150 หน่วยแรก 150 x 1.8047 เป็นเงิน 270.705 บาท

250 หน่วยต่อไป 250 x 2.7781 เป็นเงิน 694.525 บาท

เกิน 400 หน่วยต่อไป (500 – 400) 2.9780 เป็นเงิน 297.80 บาท

รวมค่าไฟฟ้าฐาน เป็นเงิน 1,303.93 บาท

Ft ที่เรียกเก็บเพิ่มจากค่าไฟฟ้าฐานประจำเดือนมกราคม 2546 = 21.95 สตางค์ต่อหน่วย
2. ค่าไฟฟ้าผันแปร = 500 x (21.95/100) เป็นเงิน 109.75 บาท

รวมค่าไฟฟ้าฐานและค่าไฟฟ้าผันแปร เป็นเงิน 1,413.68 บาท
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ร้อยละ 7 เป็นเงิน 98.95 บาท

รวมค่าไฟฟ้าทั้งสิ้น เป็นเงิน 1,512.63 บาท

วิธีการเลือกซื้อตู้เย็น

ตู้เย็นสำหรับใช้ในบ้าน
เมื่อเวลาที่เราทำงานหนักจนเหงื่อออกหรือเมื่อถูกสาดน้ำ หากได้นั่งพักสักครู่จะรู้สึกเย็นขึ้น ทั้งนี้เพราะน้ำที่ระเหยจากเสื้อจะพาความร้อนส่วนหนึ่งออกจากร่างกายไปด้วย หลักการพาความร้อน เช่นนี้ เรานำมาใช้เป็นหลักการทำความเย็นของเครื่องทำความเย็นทั้งหลายรวมทั้ง
ตู้ เย็นด้วย 
ตู้เย็นสำหรับใช้ในบ้านตามมาตรฐานตู้เย็นมีส่วนประกอบที่สำคัญ 
4 ส่วนคือ อีแวพอเรเตอร์ (evaporator) เครื่องควบแน่น (condenser) ตัวลดความดัน (pressure reducer) และเครื่องอัดสารทำความเย็น (compressor) ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นส่วนที่ช่วยชี้ว่าตู้เย็นเครื่องใดมีคุณภาพดีกว่ากัน ตู้เย็นตาม มาตรฐานขณะที่ตู้เย็นทำงาน ต้องไม่เกิดเสียงหรือสั่นสะเทือนมากเกินไป มีความปลอดภัยทางไฟฟ้า มีความสามารถทำน้ำแข็งตามเกณฑ์กำหนด เป็นต้น
ข้อแนะนำในการเลือกซื้อการเลือกซื้อตู้เย็น ควรสังเกตว่าต้องมีตัวเลขอักษรหรือเครื่องหมายระบุรายละเอียด ที่มองเห็นได้ง่าย ชัดเจนและไม่ลบเลือนหรือหลุดได้ง่าย เช่น 1. ชื่อผู้ผลิต หรือเครื่องหมายการค้า 2. ประเภทของตู้เย็น 3. ปริมาตรภายในที่กำหนด 4. รหัสรุ่น 5. วงจรไฟฟ้า นอกจากนี้ ตู้เย็นทุกตู้ต้องมีคู่มือแนะนำวิธีใช้และการบำรุงรักษา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับข้อแนะนำ เกี่ยวกับวิธีติดตั้ง วิธีใช้ วิธีใช้อุปกรณ์ควบคุมต่างๆ และการบำรุงรักษา รวมทั้งการทำความสะอาดตู้เย็น
การเลือกซื้อตู้เย็นนอกจากจะดูรายละเอียดต่างๆ ข้างต้นแล้วควรสังเกตเพิ่มเติมในเรื่องของฉลากประหยัดไฟฟ้าด้วย เพราะปัจจุบันนี้ได้มีการติดฉลากที่ตู้เย็น เพื่อแสดงว่าตู้เย็นใช้พลังงานไฟฟ้าเท่าใด ค่าไฟฟ้าต่อปีเท่าใด และประสิทธิภาพอยู่ในระดับใด ทั้งนี้เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจให้กับผู้บริโภคพิจารณาเลือกซื้อ ตู้เย็นที่มีคุณภาพได้ดียิ่งขึ้น สำหรับระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าของตู้เย็น จะแบ่งเป็นตัวเลข 5 ระดับ คือ
ระดับที่ 1 เป็นระดับที่มีประสิทธิภาพ ต่ำ ระดับที่ 2 เป็นระดับที่มีประสิทธิภาพ พอใช้ ระดับที่ 3 เป็นระดับที่มีประสิทธิภาพ ปานกลาง ระดับที่ 4 เป็นระดับที่มีประสิทธิภาพ ดี ระดับที่ 5 เป็นระดับที่มีประสิทธิภาพ ดีมาก
ซึ่งบนฉลากจะแสดงระดับประสิทธิภาพเป็นตัวเลขและบอกความหมาย โดยมีตัวเลขแสดงการใช้พลังงานไฟฟ้าเป็นหน่วยต่อปี และค่าไฟฟ้าเป็นบาทต่อปีพร้อมระบุยี่ห้อ และรุ่นของตู้เย็นประกอบด้วยอย่างชัดเจน ดังนั้น เมื่อเลือกซื้อตู้เย็นควรดูฉลากแสดงประสิทธิภาพการใช้พลังงานไฟฟ้าด้วย ยิ่งตัวเลขสูงแสดงว่ายิ่งประหยัดไฟ
ข้อแนะนำการใช้และการบำรุงรักษาที่สำคัญ
เลือกซื้อตู้เย็นที่มีขนาดความจุเหมาะสมกับความจำเป็นในการใช้งาน และควรตั้งอุณหภูมิให้เหมาะสมกับชนิดและจำนวนของอาหาร เพื่อประหยัดค่าไฟฟ้า ควรตั้งตู้เย็นให้มีอากาศถ่ายเทได้ดีพอสมควร โดยอยู่ห่างจากผนังไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร และห่างจากเพดานอย่างน้อย 30 เซนติเมตร ไม่ควรเปิดปิดประตูบ่อยๆ เพราะความร้อนและความชื้นจากอากาศภายนอก จะทำให้ตู้เย็นทำงานมากขึ้น ซึ่งจะทำให้เปลืองไฟ ไม่ควรนำอาหารเข้าเก็บขณะที่ยังร้อนหรืออุ่นอยู่ ควรจะรอให้ความร้อนในอาหารลดลงจนเท่ากับระดับอุณหภูมิภายในห้องก่อนจึงนำ เข้าเก็บได้ ไม่ควรตั้งภาชนะที่เก็บอาหารไว้ชิดกัน หรือติดกับผนังตู้เพราะอากาศจะไม่สามารถผ่านรอบๆ ภาชนะได้ หากเป็นตู้เย็นที่ไม่มีกลไกขจัดน้ำแข็งอัตโนมัติ ควรขจัดน้ำแข็งที่เกาะภายในตู้เย็นบ่อยๆ ถ้าเป็นฤดูร้อน ประมาณ 2 ครั้งต่อหนึ่งสัปดาห์ ควรทำความสะอาดอุปกรณ์ประกอบภายในตู้เย็นอย่างสม่ำ เสมอ ก่อนทำความสะอาดตู้เย็นให้ถอดปลั๊กออกก่อนทุกครั้ง ห้ามใช้เบนซิน ทินเนอร์หรือแอลกอฮอล์ ทำความสะอาดตู้เย็น ภายนอก ภายในตู้เย็น ควรใช้ผ้านุ่มชุบน้ำสบู่เช็ดและเช็ดด้วยผ้าชุบน้ำที่สะอาดแล้วตามด้วยผ้า แห้ง ควรทำความสะอาดตู้เย็นอย่างน้อยเดือนละครั้ง ยางขอบประตู ซึ่งมีความชื้น และฝุ่นละอองจับเกาะ ทำให้เกิดจุดด่างดำ ควรทำความสะอาดบ่อยๆ โดยใช้แปรงอ่อนๆ จุ่มน้ำสบู่ถูเบาๆ ล้างด้วยน้ำสะอาดและเช็ดให้แห้ง

10ประข้อคิดวิธีประหยัดค่าแอร์

ข้อคิอ10 วิธีประหยัดค่าแอร์
วิธีต่อไปนี้ จะช่วยเราประหยัดพลังงานและพลังเงินของเราโดยไม่ต้องลงทุน หลายวิธีที่จะกล่าวถึงนี้ อาจเป็นวิธีง่ายๆ ที่เราคิดไม่ถึงหรือเห็นเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่ถ้าเราพร้อมใจกันปฏิบัติอย่างถูกต้อง จะช่วยประหยัดพลังงานและค่าไฟได้อย่างไม่น่าเชื่อ
  1. ปิดพัดลมระบายอากาศเมื่อไม่จำเป็น
    ในห้องปรับอากาศมักติดตั้งพัดลม ระบายอากาศไว้สำหรับระบายอากาศออกจากห้องปรับอากาศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งห้องที่มีกลิ่นหรือควันจากการสูบบุหรี่ เมื่อมีการระบายอากาศออกจากห้อง ก็จะมีอากาศในปริมาณเท่ากันไหลเข้ามาในห้อง เพื่อทดแทนอากาศส่วนที่ถูกระบายทิ้งออกไป อากาศจากภายนอกที่ไหลเข้ามาแทนที่นี้ ทำให้เครื่องปรับอากาศต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อทำให้อากาศร้อนจากภายนอกที่เข้ามาเย็นลงจนเท่ากับอากาศภายในห้อง
    พัดลม ระบายอากาศนี้มีความจำเป็น หากเป็นห้องที่มีคนใช้งานมาก หรือมีกลิ่นจากเอกสาร, อาหาร หรือควันบุหรี่ แต่หากเป็นห้องที่มีคนใช้งานไม่มาก และไม่มีกลิ่นรบกวน ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศ ทั้งนี้เนื่องจาก โดยธรรมชาติจะมีอากาศรั่วซึมผ่านทางกรอบประตูหน้าต่างอยู่ในปริมาณหนึ่งอยู่ แล้ว ซึ่งเพียงพอสำหรับใช้ในการหายใจ
    นอกจากนี้ หากเป็นห้องประชุม ในขณะที่เปิดเครื่องปรับอากาศ เพื่อให้อากาศเย็นก่อนจะมีคนเข้าใช้ห้อง ก็ไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศ ให้รอจนมีคนเข้าใช้ห้องประชุมเป็นจำนวนมากก่อน จึงเปิดพัดลมระบายอากาศก็ได้
  2. ตั้งปิดจอคอมพิวเตอร์ เมื่อไม่ใช้งาน
    ในสำนักงานสมัยใหม่ มีการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์กันมากขึ้น ความร้อนจากเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นภาระมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับเครื่องปรับอากาศ เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลหนึ่งเครื่อง จะปล่อยความร้อนออกมาโดยประมาณ 250 วัตต์ โดยส่วนใหญ่จะเป็นความร้อนจากจอมอนิเตอร์ประมาณ 180-200 วัตต์
    โดยปกติ แล้ว เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่ได้ถูกใช้งานตลอดเวลา ดังนั้นผู้ผลิตโปรแกรม จึงมีส่วนที่ให้ผู้ใช้สามารถตั้งโปรแกรมให้จอมอนิเตอร์ปิดโดยอัตโนมัติ เมื่อไม่ได้สัมผัสคีย์บอร์ด หรือเมาส์ในระยะเวลาหนึ่ง
  3. ตั้งอุณหภูมิ 28C แล้วเปิดพัดลมเสริม
    ความเย็นสบาย หรือความสบายเชิงความร้อน (Thermal Comfort) เกิดขึ้นได้จากการมีปัจจัยหลัก 3 ประการที่สมดุลกัน คือ
    1. อุณหภูมิ
    2. ความชื้นสัมพัทธ์
    3. ความเร็วลม
    หาก ต้องการระดับความสบายเท่าเดิม เมื่อปัจจัยหนึ่งเปลี่ยนก็สามารถเปลี่ยนปัจจัยอื่นเป็นการทดแทนได้ การตั้งอุณหภูมิในห้องสูงขึ้น จะประหยัดพลังงานได้ โดยปกติแล้วก็จะตั้งได้สูงสุดประมาณ 25-26 C มิฉะนั้นจะร้อนเกินไป แต่ถ้าเราเปิดพัดลมช่วยเพิ่มความเร็วลมในห้อง เราจะสามารถตั้งอุณหภูมิได้สูงถึง 28-30 C โดยยังเย็นสบายเหมือนเดิม (มีระดับความสบายเชิงความร้อนเท่ากัน) โดยจะช่วยประหยัดพลังงานได้มาก
  4. นำตู้มาตั้งชิดผนังด้านตะวันออกหรือตะวันตก
    ผนังด้านที่มีความร้อน เข้ามามากทีสุดคือ ด้านตะวันออก และตะวันตก นอกจากความร้อนที่ผ่านผนังเข้ามาแล้ว เวลาที่แสงอาทิตย์ส่องถูกผนัง จะทำให้ผนังมีอุณหภูมิร้อนขึ้นมาก และจะแผ่รังสีความร้อนมาสู่ตัวคน ซึ่งจะทำให้คนรู้สึกร้อนขึ้น แม้อุณหภูมิในห้องจะเท่าเดิม ในห้องที่มีสภาพนี้จะต้องตั้งอุณหภูมิเครื่องปรับอากาศที่ประมาณ 21-22 C จึงจะรู้สึกเย็นสบาย แต่เป็นการสิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น
    การนำตู้ไปตั้ง ชิดผนัง จะช่วยป้องกันการแผ่รังสีความร้อนจากผนังได้ ดังนั้นจึงไม่ต้องตั้งอุณหภูมิต่ำกว่าปกติ ในห้องที่ผนังห้องไม่ร้อน การตั้งอุณหภูมิที่ 25 C ก็จะเย็นสบายเพียงพอ นอกจากป้องกันการแผ่รังสีความร้อนจากผนังแล้ว การมีตู้ตั้งชิดผนัง ยังเสมือนว่ามีผนังหนาขึ้น จึงเป็นการช่วยลดความร้อนที่ผ่านผนังเข้ามาได้ด้วย
  5. ปิดแอร์เมื่อไม่ใช้ และอย่าเปิดประตูหน้าต่างทิ้งไว้ในขณะปิดแอร์
    ระบบ ปรับอากาศ (แบบน้ำเย็น) ใช้พลังงานประมาณ 1 หน่วยต่อตันต่อชั่วโมง ตัวอย่างเช่นเครื่องปรับอากาศขนาด 5 ตัน เปิดใช้งาน 4 ชั่วโมง จะใช้พลังงานไฟฟ้าประมาณ 1 x 5 x 4 = 20 หน่วย คิดเป็นเงินประมาณ 20 x 3 = 60 บาท (ค่าไฟเฉลี่ยประมาณ 3 บาทต่อหน่วย) ในอาคารทั่วไปๆ ค่าไฟฟ้าที่จ่ายไปกว่าครึ่งหนึ่งเป็นค่าไฟของระบบปรับอากาศ
    การปิด เครื่องปรับอากาศเมื่อไม่ใช้ห้องปรับอากาศจะสามารถช่วยประหยัดพลังงานได้โดย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆ แต่ในขณะที่ปิดเครื่องปรับอากาศนั้น จะต้องไม่เปิดประตูหรือหน้าต่างทิ้งไว้ มิฉะนั้นความร้อนและความชื้นจากภายนอกจะเข้าไปในห้องปรับอากาศและจะสะสมอยู่ ที่ พื้น, ผนัง, เฟอร์นิเจอร์, พรม, กระดาษ, ผ้าม่าน ฯลฯ เมื่อเปิดเครื่องปรับอากาศครั้งต่อไปเครื่องปรับอากาศก็จะต้องทำงานหนักขึ้น เพื่อดึงเอาความร้อนและความชื้นนี้ออกไป ซึ่งจะเป็นการสิ้นเปลืองพลังงานมากกว่าการเปิดเครื่องปรับอากาศอย่างต่อ เนื่องเสียอีก
  6. ย้ายเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ไม่จำเป็นออกนอกห้องปรับอากาศ
    อุปกรณ์ไฟฟ้า ทุกชนิดจะปล่อยความร้อนออกมา เท่ากับพลังงานไฟฟ้าที่อุปกรณ์นั้นใช้ ดังนั้น ภาระส่วนหนึ่งที่สำคัญของเครื่องปรับอากาศจึงเกิดจากอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ต่างๆ ภายในห้องปรับอากาศ หากเราสามารถลดเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในห้องปรับอากาศโดยการย้ายออกไปตั้งไว้นอก ห้องปรับอากาศได้ก็จะเป็นการช่วยประหยัดพลังงานได้
    ตัวอย่าง อุปกรณ์ที่มักมีอยู่ในห้องปรับอากาศแต่สามารถย้ายออกไปได้ เช่น1. ตู้เย็น2. ตู้ทำน้ำเย็น3. เครื่องถ่ายเอกสาร4. หม้อต้มน้ำร้อน หรือเครื่องชงกาแฟ5. ตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ6. หม้อหุ้งข้าวไฟฟ้า7. ฯลฯ
  7. ปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าและไฟแสงสว่างที่ไม่จำเป็น
    เครื่องใช้ไฟฟ้าและ หลอดไฟฟ้าแสงสว่าง จะปล่อยความร้อนเข้าสู่ห้องปรับอากาศ เท่ากับพลังงานที่อุปกรณ์ไฟฟ้าและหลอดไฟใช้ และความร้อนนั้นก็จะกลายเป็นภาระของเครื่องปรับอากาศ และต้องเสียพลังงานในการนำความร้อนนี้ทิ้งออกไปข้างนอกอีก
    จะเห็นได้ว่า การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือไฟฟ้าแสงสว่าง ในห้องปรับอากาศจะเป็นการเสียค่าไฟสองต่อ คือ- เสียค่าไฟที่อุปกรณ์หรือหลอดไฟใช้- เสียค่าไฟที่เครื่องปรับอากาศเพื่อนำความร้อนออกไปทิ้งนอกห้อง
    ดังนั้น การปิดเครื่องใช้ไฟฟ้าและไฟแสงสว่างที่ไม่จำเป็นในห้องปรับอากาศจึงเป็นการ ประหยัดสองต่อ คือ ประหยัดที่ตัวอุปกรณ์และประหยัดที่เครื่องปรับอากาศ
  8. งดสูบบุหรี่ในห้องปรับอากาศ
    เมื่อมีการสูบบุหรี่ในห้องปรับอากาศก็จะ ต้องเปิดพัดลมระบายอากาศ เพื่อระบายควันและกลิ่นออกจากห้อง การระบายอากาศส่วนหนึ่งออกจากห้อง ก็จะทำให้มีอากาศจากภายนอกใหลเข้ามาในห้องทดแทนซึ่งจะทำให้เครื่องปรับอากาศ ทำงานหนักขึ้น หากงดสูบบุหรี่ในห้องปรับอากาศก็ไม่จำเป็นต้องเปิดพัดลมระบายอากาศหรือเปิด เพียงช่วงสั้นๆ ก็เพียงพอซึ่งจะช่วยประหยัดพลังงานได้
    นอกจากนี้ การงดสูบบุหรี่ในห้องปรับอากาศ ยังลดปริมาณฝุ่นละอองในอากาศ จึงทำให้มีฝุ่นละอองไปจับที่คอยล์น้อยเครื่องปรับอากาศ จึงมีประสิทธิภาพสูงอยู่เสมอ และช่วยยืดระยะเวลาการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศไปได้
  9. ปิดประตูหน้าต่างให้สนิท
    หากปิดประตูหรือหน้าต่างไม่สนิท จะทำให้มีอากาศร้อนชื้นจากภายนอกรั่วใหลเข้าไปในห้องได้ซึ่งจะทำให้เครื่อง ปรับอากาศทำงานหนักขึ้น และสิ้นเปลืองพลังงานมากขึ้น มาตรการนี้ดูจะเป็นเรื่องง่ายๆ ที่ไม่น่าจะต้องกล่าวถึงอีกแต่กลับเป็นปัญหาที่พบบ่อย และละเลยกันมากที่สุด
    นอก จากการปิดประตูหน้าต่างไม่สนิทรอยรั่วรอบๆ กรอบประตูและหน้าต่างก็เป็นปัญหาที่พบบ่อยๆ หากพบว่ามีรอยแยกและมีลมรั่วจากภายนอกเข้ามา ก็ควรดำเนินการแก้ไข เพื่อช่วยกันประหยัดพลังงาน
  10. ปิดผ้าม่านการปิดผ้าม่าน จะช่วยลดการแผ่รังสีความร้อนจากภายนอกเข้ามาสู่ตัวคนโดยตรงได้ และยังช่วยลดการแผ่รังสีความร้อนจากผิวกระจกมาสู่ตัวคนด้วย ซึ่งทำให้ไม่ต้องตั้งอุณหภูมิต่ำกว่าปกติเพื่อชดเชยการแผ่รังสีความร้อนจึง ช่วยประหยัดพลังงานได้
    นอกจากลดการแผ่รังสีความร้อนมาสู่ตัวคนแล้ว ผ้าม่านยังช่วยสะท้อนความร้อนกลับออกไปภายนอกได้ด้วย (ถึงแม้ว่าจะไม่มากนัก) จึงเป็นการช่วยประหยัดพลังงานได้อีกทางหนึ่ง 
การที่ทราบว่าการออกกำลังการเป็นสิ่งที่ดีต่อสุขภาพแต่ไม่ปฏิบัตินั้น ย่อมไม่ทำให้เกิดสุขภาพดีได้ ฉันใดก็ฉันนั้น การที่ทราบวิธีการประหยัดพลังงานแต่ไม่ปฏิบัติก็ย่อมไม่สามารถช่วยอนุรักษ์ พลังงานได้ 11 วิธีประหยัดค่าแอร์โดยไม่ต้องลงทุนนี้ มีประโยชน์อย่างแน่นอน สามารถช่วยอนุรักษ์พลังงานได้ ช่วยให้คนรุ่นต่อไปมีพลังงานเหลือใช้นานขึ้น ช่วยลดการสูญเสียเงินตราต่างประเทศ ช่วยลดมลพิษและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้า ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีไว้ให้ลูกหลานของเรา

สาระความรู้เรื่องเครื่องใช้ไฟฟ้า

ไฟฟ้าแสงสว่าง
  • ควรปิดไฟทุกครั้งเมื่อไม่มีคนอยู่ในห้อง
  • เลือกใช้หลอดไฟที่มีกำลังวัตต์เหมาะสมกับการใช้งาน
  • สำหรับบริเวณที่ต้องการความ สว่างมาก ภายในอาคารควรเลือกใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์ ส่วนภายนอกอาคารควรเลือกใช้หลอดไอโซเดียม และหลอดไอปรอท
  • ควรใช้ฝาครอบดวงโคมแบบใสหากไม่มีปัญหาเรื่องแสงจ้า และหมั่นทำความสะอาดอยู่เสมอ
  • พิจารณาใช้โคมไฟตั้งโต๊ะสำหรับงานที่ต้องการแสงสว่างจุดเดียว ทีวี วิทยุ
  • ปิดเครื่องทุกครั้งเมื่อไม่ได้ดู
  • ควรถอดปลั๊กเมื่อไม่ใช้เป็นเวลานาน
  • ควรเลือกใช้โคมไฟแบบสะท้อนแสงแทนแบบเดิมที่ใช้พลาสติกปิด
    ควรใช้หลอดฟลูออเรสเซนต์หรือหลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ แทนหลอดไส้ ซึ่งมีคำแนะนำในการใช้ดังนี้
  • หลอดฟลูออเรสเซนต์แบบผอม ขนาด 18 วัตต์ และ 36 วัตต์ มีความสว่างเท่ากับ หลอด 20 วัตต์ และ 40 วัตต์แต่ประหยัดไฟกว่า และสามารถใช้แทนกันได้ โดยไม่ต้องเปลี่ยนบัลลาสต์และสตาร์ทเตอร์
  • หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์มี 2 ชนิด คือ ชนิดมีบัลลาสต์ภายในสามารภใช้แทนหลอดกลมแบบเกลียวได้ ส่วนหลอดที่มีบัลลาสต์ภายนอก จะมีขาเสียบเพื่อต่อกับตัวบัลลาสต์ที่อยู่ภายนอก
เตารีด
  • เตารีดเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทให้ความร้อน ซึ่งในการรีดแต่ละครั้งจะกินไฟมากดังนั้นจึงควรรู้จัดวิธีใช้อย่างประหยัดและปลอดภัย
  • ก่อนอื่นควรตรวจสอบดูว่าเตารีดอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้งานหรือไม่ เช่น สาย ตัวเครื่อง เป็นต้น
  • ตั้งปุ่มปรับความร้อนให้เหมาะสมกับชนิดของผ้า
  • อย่าพรมน้ำจนเปียกแฉะ
  • ดึงเต้าเสียบออกก่อนจะรีดเสร็จประมาณ 2-3 นาที แล้วรีดต่อไปจนเสร็จ
  • ควรพรมน้ำพอสมควร
  • ถอดปลั๊กออกเมื่อไม่ได้ใช้
  • ควรรีดผ้าคราวละมากๆ ติดต่อกันจนเสร็จ
  • ควรเริ่มรีดผ้าบาง ๆ ก่อน ขณะเตารีดยังไม่ร้อน
  • ควรดึงปลั๊กออกก่อนรีดเสร็จเพราะยังร้อนอีกนาน
  • ควรซักและตากผ้าโดยไม่ต้องบิด จะทำให้รีดง่ายขึ้น
พัดลม
  • เปิดความเร็วลมพอควร
  • เปิดเฉพาะเวลาใช้งาน
  • ควรเปิดหน้าต่างใช้ลมธรรมชาติแทนถ้าทำได้
เครื่องเป่าผม
  • เช็ดผมก่อนใช้เครื่อง
  • ควรขยี้และสางผมไปด้วยขณะเป่า
เครื่องดูดฝุ่น
  • ควรเอาฝุ่นในถุงทิ้งทุกครั้งที่ใช้แล้วจะได้มีแรงดูดดี ไม่เปลืองไฟ 
ตู้เย็น ตู้แช่
  • ตั้งอุณหภูมิพอสมควร
  • นำของที่ไม่ร้อนใส่ตู้เย็น
  • ปิดประตูตู้เย็นทันทีเมื่อนำของใส่หรือออก
  • ปิดประตูตู้เย็นให้สนิท
  • หากยางขอบประตูรั่วให้รีบแก้ไข
  • เลือกตู้เย็นหรือตู้แช่ชนิดมีประสิทธิภาพสูง
  • ควรใช้ตู้เย็นขนาดเหมาะกับครอบครัว
  • ควรตั้งตู้เย็นให้ห่างจากแหล่งความร้อน ให้หลังตู้ห่างจากฝาเกิน 15 ซ.ม. เพื่อระบายความร้อนได้สะดวก ไม่เปลื่องไฟฟ้า
  • ควรหมั่นทำความสะอาดแผงระบายความร้อน
  • ควรเก็บเฉพาะอาหารเท่าที่จำเป็น
การเลือกซื้อตู้เย็น,ตู้แช่มีคำแนะนำให้ท่านพิจารณาก่อนซื้อดังนี้
  • เลือกขนาดให้พอเหมาะกับความต้องการของครอบครัว
  • ตู้เย็นแบบประตูเดียวกินไฟน้อยกว่าแบบ 2 ประตู
  • ควรวางตู้เย็นให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก
  • ตั้งสวิตช์ควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะกับจำนวนของที่ใส่
  • อย่าเปิดตู้เย็นทิ้งไว้นาน ๆ และอย่านำของร้อนมาแช่
  • หมั่นละลายน้ำแข็งเมื่อเห็นว่าน้ำแข็งเกาะหนามาก
หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
  • หากใช้อย่างถูกต้องสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้มาก ซึ่งมีข้อแนะนำดังนี้
  • ควรหุงข้าวให้พอดีกับจำนวนผู้รับประทาน
  • ควรดังเต้าเสียบออกเมื่อข้าวสุกแล้ว
  • อย่าทำให้ก้นหม้อตัวในเกิดรอยบุบ จะทำให้ข้าวสุกช้า
  • หมั่นตรวจบริเวณแท่นความร้อนในหม้อ อย่าให้เม็ดข้าวเกาะติด จะทำให้ข่าวสุกช้าและเปลืองไฟ
  • ใช้ขนาดที่เหมาะสมกับจำนวนสมาชิกในครอบครัว
  • ควรดึงปลั๊กออกเมื่อข้าวสุกพอแล้ว ปัจจุบันหม้อหุงข้าวไฟฟ้ามีใช้กันมาก หม้อต้มน้ำ หม้อต้มกาแฟ
  • ใส่น้ำให้มีปริมาณพอควร
  • ควรปิดฝาให้สนิทขณะต้ม
  • ควรปิดสวิตช์ทันทีเมื่อน้ำเดือด
เครื่องสูบน้ำ
  • ควรติดตั้งอุปกรณ์อัตโนมัติควบคุมระดับน้ำในถังและหมั่นปรับตั้งให้ถูกต้องเสมอ
  • ติดตั้งท่อน้ำให้มีขนาดเหมาะสมกับขนาดปั้ม
  • ควรตรวจแก้ไขจุดรั่วในระบบน้ำ
  • ควรใช้น้ำอย่างประหยัด
  • ควรติดตั้งถังเก็บน้ำในตำแหน่งที่ไม่สูงเกินไป
เครื่องสูบน้ำเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่อำนวยความสะดวกอย่างยิ่งซึ่งใช้มอเตอร์ไฟฟ้าในการสูบน้ำไปยังถังเก็บหรือเพื่อนำไป
ใช้ประโยชน์ ซึ่งมีวิธีการใช้อย่างประหยัดดังนี้
  • ควรติดตั้งอุปกรณ์อัตโนมัติควบคุมระดับน้ำในถังเก็บ และดูแลรักษาให้ทำงานได้อยู่เสมอ
  • ตรวจสอบรอยรั่วตามข้อต่อต่าง ๆ หากพบควรรับซ่อมแซมแก้ไขโดยเร็ว
  • หากตัวถังเก็บน้ำไม่มีอุปกรณ์อัตโนมัติควบคุมระดับน้ำ ควรดูแลอย่าให้น้ำล้นถัง
  • เครื่องสูบน้ำแบบใช้สายพานต้องตรวจสอบไม่ให้หย่อนหรือตึงเกินไป
เครื่องซักผ้า
  • ควรใส่ผ้าแต่พอเหมาะ ไม่น้อยเกินไป และไม่มากจนเกินกำลังเครื่อง
  • ควรใช้น้ำเย็นซักผ้า ส่วนน้ำร้อนให้ใช้เฉพาะกรณีรอยเปื้อนไขมันมาก

    วิธีใช้เครื่องซักผ้าให้ประหยัดไฟฟ้าควรปฏิบัติดังนี้
  • ควรใส่ผ่าที่จะซักตามคำแนะนำของแต่ละเครื่อง
  • หากมีผ้าต้องซัก 1-2 ชิ้น ควรซักด้วยมือ
  • หากมีแสงแดดไม่ควรใช้เครื่องอบแห้ง ควรจะนำเสื้อผ้าที่ซักเสร็จมาตากแดด
มอเตอร์ไฟฟ้า
  • ควรตรวจสอบแก้ไข และอัดจารบีตามวาระ
  • ปรับปรุงสายพานมอเตอร์ เช่น ปรับความตึงสายพาน เปลี่ยนสายพานใหม่
  • พิจารณาเปลี่ยนระบบควบคุมความเร็วของมอเตอร์เป็นระบบอีเล็กทรอนิกส์
เตาอบ เตาไฟฟ้า
เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ ใช้ความร้อนมาทำให้อาหารสุก หากให้ความร้อนสูญเสียไปโดยการใช้ไม่ถูกวิธี ทำให้อาหารสุกช้าลง กินกระแสไฟเพิ่มขึ้นจึงมีข้อแนะนำการใช้เครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทนี้อย่าง ประหยัดคือ
  • ควรเตรียมเครื่องปรุงในการประกอบอาหารให้พร้อมก่อนใช้เตา
  • ควรใช้ภาชนะก้นแบนและเป็นโลหะจะทำให้รับความร้อน จากเตาได้ดี
  • ในการหุ้นต้มอาหารควรใส่น้ำให้พอดีกับจำนวนอาหาร
  • ในระหว่างอบอาหารอย่าเปิดตู้อบบ่อย ๆ
  • ถอดเต้าเสียบทันทีเมื่อปรุงอาหารเสร็จเรียบร้อย
  • ควรหรี่ไฟและปิดฝาหม้อในกรณีที่ต้องเคี่ยว
  • ควรเตรียมเครื่องปรุงให้พร้อมก่อนใช้เตา
  • ควรใช้เตาชนิดมองไม่เห็นขดลวดซึ่งไม่เสียความร้อน สูญเปล่ามาก และปลอดภัยกว่า
  • ควรใช้พาหนะก้นแบนขนาดพื้นที่ ก้นเหมาะกับพื้นที่หน้าเตาและใช้พาหนะที่มีเนื้อโลหะรับความร้อนได้ดี หากเป็นไปได้ให้ใช้กับเตาไฟฟ้าซึ่งมีขายทั่วไปอยู่แล้ว
  • ควรปิดฝาภาชนะให้สนิทขณะตั้งเตา
เครื่องทำน้ำอุ่น
วิธีการใช้เครื่องทำน้ำอุ่นให้ประหยัดและปลอดภัย
  • ปรับปุ่มความร้อนให้เหมาะสมกับร่างกาย
  • ปิดวาล์วทันทีเมื่อไม่ใช้งาน
  • หากมีรอยรั่วควรรีบทำการแก้ไขทันที
  • ต่อสายลงดินในจุดที่จัดไว้ให้ของเครื่องทำน้ำอุ่น
  • ปิดสวิชต์ไฟฟ้าของเครื่องทำน้ำอุ่นเมื่อไม่ใช้
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำที่แนบมากับเครื่อง
  • ใช้เครื่องขนาดพอสมควร
  • ปรับปรุงความร้อนไม่ให้ร้อนเกินความจำเป็น
  • ปิดก๊อกทุกครั้งเมื่อไม่ใช้งาน
  • ในฤดูร้อนไม่จำเป็นต้องใช้น้ำร้อน หรือน้ำอุ่น
  • ควรใช้น้ำอุ่นที่ได้ความร้อนจากแสงอาทิตย์  
เครื่องปรับอากาศ
  • ปิดเครื่องทุกครั้งเมื่อไม่อยู่
  • ปิดประตูหน้าต่างและผ้าม่านกันความร้อนจากภายนอก
  • ตั้งอุณหภูมิไม่ควรต่ำกว่า 26 องศาเซลเซียส
  • ควรใช้เครื่องขนาดเหมาะสมกับขนาดห้อง
  • ควรเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีประสิทธิภาพสูง
  • ควรติดตั้งเครื่องระดับสูงพอเหมาะ และให้อากาศร้อนระบายออกด้านหลังเครื่องได้สะดวก
  • ควรบุผนังห้อง และหลังคาด้วยฉนวนกันความร้อน
  • ควรบำรุงรักษาเครื่องให้มีสภาพดีตลอดเวลา
  • ควรหมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ และแผงระบายความร้อน
  • ในฤดูหนาวขณะที่อากาศไม่ร้อนมากเกินไป ไม่ควรเปิดเครื่องปรับอากาศ
  • ปิดประตู หน้าต่างให้มิดชิดไม่ให้ความเย็นรั่วไหล
  • พิจารณาติดตั้งบังแสงหรือกันแดด เพื่อลดภาระการทำงานของเครื่อง 
การใช้เครื่องปรับอากาศให้มีความเย็นที่สบายต่อร่างกาย จะประหยัดค่าไฟฟ้าอย่างได้ผล ซึ่งควรปฏิบัติดังนี้
  • ควรเลือกใช้ขนาดที่เหมาะสมกับขนาดของห้อง
  • ควรใช้ผ้าม่านกั้นประตูหน้าต่าง เพื่อป้องกันความร้อนจากภายนอก
  • ตั้งปุ่มปรับอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อร่างกาย(ประมาณ 26 องศาเซลเซียส)
  • หมั่นทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศ
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำที่แนบมากับเครื่องปรับอากาศ

ความรู้เบื้องต้นเมื่อแอร์เสีย

ลอง สังเกตกันดูนะคะ ว่าแอร์ของท่านมีอาการอะไรเหล่านี้หรือเปล่า และมากหรือน้อย เพระอาการเหล่านี้บางสาเหตุก็ทำให้ค่าไฟเพิ่มขึ้นนะคะ หรือบางสาเหตุก็ทำให้แอร์เสียเร็ว ถ้าเราหมั่นสังเกตุและแก้ไขแต่ต้นๆ ก็ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุง และช่วยชาติประหยัดไฟด้วยนะคะ ที่สำคัญทำให้เราใช้แอร์ได้คุ้มราคา กระเป๋าไม่แฟบตอนซ่อมแอร์นะคะ

ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ หรือสงสัยตรงไหนก็ลองปรึกษาช่างแอร์ได้ค่ะ หรือจะโทรมาปรึกษาเราก็ได้ค่ะ ยินดีอย่างยิ่ง
 

อาการ

สาเหตุ
เป็นน้ำแข็ง
น้ำยารั่ว / สกปรก / มอเตอร์ไม่มีแรง
น้ำรั่ว
สกปรก / ท่อน้ำตัน / น้ำยาขาด
สวิตช์เบเกอร์เดัง
คอมเสีย / สายไฟช๊อต / เบรกเกอร์เสีย / แค๊บเสีย
กินไฟเกินกำหนด
สกปรก / น้ำยาขาด / ห้องใหญ่กว่าแอร์ / ห้องรั่ว / คอมเสีย /แค๊บเสีย
ตัวในเวลาเปิดเสียงดัง
มอเตอร์เสีย / ลูกปืนแตก / แค๊บทิ้วกระพือ / น้ำยาขาด / ประกอบไม่แน่น
ตัวนอกมีเสียงดัง
น๊อตหลวม / คอมเสีย / มอเตอร์เสีย / ทองแดงชนกันกระพือ / ประกอบไม่แน่น
แอร์มีกลิ่นเหม็น
สกปรก / คอมไม่เดิน / กลิ่นภายนอกเข้า
แอร์เย็นเกินไป
เทอร์โมเสีย / แม๊กเนติกช๊อต / ตั้งเทอร์โมต่ำเกินไป
เปิดแล้วไม่ติด
ฟิวส์ขาด / เบเกอร์เสีย / สายไฟขาดใน / มอเตอร์คอยส์เย็นเสีย / ถ่านหมด
ตัวนอกมีเสียงระเบิด
แค๊บต่างๆ ระเบิด /คอมเพรสเซอร์ตันลิ้นเปิด
ไฟช๊อตในตัวเครื่อง
สายไฟหลุดชนท่อทองแดง /คอมเสีย / มอเตอร์เสีย
เย็นแต่ไม่ฉ่ำ
สกปรก / คอมไม่มีกำลัง / ห้องใหญ่กว่าแอร์ / ห้องรั่ว / น้ำยารั่ว
เวลาเปิดแอร์ไฟตก
สายหลวม / ไฟฟ้าไม่พอ
มีน้ำเกาะเป็นเหงื่อ
แอร์เล็กกว่าห้อง / ยางกันซึมหมดสภาพ / แอร์สกปรก / ไม่ปิดประตู
มีเสียงปี๊ด เดี๋ยวหยุด เดี๋ยวดัง
แอร์ตันระบบ / หรือ ระบายไม่ดี
เปิดครั้งแรกไม่ดังต่อมามีเสียงดัง
มอเตอร์เสีย / ลูกปืนแตก / แค๊บทิ้วกระพือ / น้ำยาขาด / ประกอบไม่แน่น
สาเหตุของเครื่องปรับอากาศที่เสียนี้ ต้องตรวจสอบอุปกรณ์บางอย่างเพิ่มเติมด้วย

Wikipedia

ผลการค้นหา

รายการบล็อกของฉัน